วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ศึกษาดูงานร่วมกลุ่มนาโพธิ์ 1 วันที่ 17-18 ก.พ. 54

ช่วงเช้าๆนั่งดื่มกาแฟรอขึ้นชมวิวที่สวนผาหินงามกับคณะครู


ร่วมกับคณะครูที่จุดชมวิวดูพระอาทิตย์ขึ้น

ทุกคนมีความสุข



ร่วมกับพี่ ๆ ที่โรงเรียน



ดูผลงานของเด็กที่ศูนย์ศิลป์สิรินธรสวยงามมาก

ชื่นชมในผลงานของนักเรียน

ร่วมกับครูผู้รับผิดชอบศูนย์ศิลป์
ฟักขนาดใหญ่มากที่สวน tsa เกษตรในที่สูง
ขณะเดินลงจากยอดภูเรือ

ที่ผาโหล่นน้อย บนภูเรือ
ถ่ายภาพที่ระลึก ภูเรือ เรือนไม้ ที่พักค้างคืน

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการสร้างความรู้ใหม่ด้วยผู้เรียน (Constructionism)



ทฤษฎีการสร้างความรู้ใหม่ด้วยผู้เรียน (Constructionism)
ที่มาของทฤษฏี  Constructionism เป็นทฤษฎีการศึกษาที่พัฒนาขึ้นโดย Professor Seymour Papert แห่ง M.I.T (Massachusetts Institute of Technology) เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีของความรู้ (Theory of knowledge) โดย Jean Piaget
ความหมาย
ชัยอนันต์ สมุทวาณิช. (2541) กล่าวว่า ทฤษฎี Constructionism  ยึดหลักการที่ว่า การเรียนที่ทำให้มีกำลังทางความคิดมากที่สุด เกิดขึ้นเมื่อนักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้าง   สิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง สร้างสิ่งที่เด็กชอบและสนใจ ไม่มีใครที่จะบงการหรือกำหนดว่าสิ่งใดคือสิ่งที่มีความหมายของอีกคนหนึ่ง ด้วยเหตุนี้การมีทางเลือกจึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ดี
รุ่ง แก้วแดง (2541) กล่าวถึงรูปแบบการเรียนแบบ Constructionism ว่าการเรียนลักษณะนี้เน้นกระบวนการเรียน โดยจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีความคิดอิสระ แต่ละคนอาจมีวิธีคิด วิธีเรียนที่แตกต่างกัน ความรู้ทีได้ก็เป็นความรู้ของแต่ละบุคคล และสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้เมื่อมีการเปลี่ยนข้อมูลมากกว่าที่จะมีความรู้แต่เพียงอย่างเดียวในการเรียนระบบเดิม นอกจากนี้แล้วจะต้องเป็นการสอนเพื่อที่จะหาวิธีการเรียนรู้ (Learn how to learn)
      วารินทร์ รัศมีพรหม (2541) กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง (Constructionism) จะเป็นการเรียนรู้ที่สังคมสิ่งแวดล้อมเข้ามามีส่วนร่วม และความรู้จะถูกสร้างขึ้นโดยการประนีประนอมระหว่างผู้เรียนและผู้สอน  ภาษาและวัฒนธรรมจะเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับผู้เรียนที่ใช้เป็นกระบวนการค้นหาความรู้  ผู้เรียนจะสร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเองมากกว่าที่จะซึม-ซาบความคิดความจริงที่เข้ามาสู่ตนเอง  โดยมีมุ่งหมายของการเรียนที่ชัดเจน แต่แนวทางที่จะนำไปสู่ปลายทางนั้น จะเป็นอิสระ หรือเป็นระบบเปิด (Open System) ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีสิทธิที่จะเลือกแนวทางของตนได้
การสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง
1. ผู้เรียนจะมีการปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม บุคคล เหตุการณ์ และสิ่งอื่น ๆ และผู้เรียนจะปรับตนเองโดยวิธีดูดซึม สร้างโครงสร้างทางปัญญาใหม่ และกระบวนการของความสมดุล เพื่อให้รับสิ่งแวดล้อม หรือความจริงใหม่เข้าสู่ความคิดของตนเองได้
2. ในการนำเสนอหรืออธิบายความจริงที่ผู้เรียนสร้างขึ้นนั้น ผู้เรียนจะสร้างรูปแบบ หรือตัวแทนของสิ่งของ ปรากฏการณ์ และเหตุการณ์ขึ้นในสมองของผู้เรียนเอง ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
3. ผู้เรียนอาจมีผู้ให้คำปรึกษา (Mentor) เช่น ครูผู้สอนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้ได้สร้างความหมายต่อความจริง หรือความรู้ที่ผู้เรียนได้รับเอาไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ความหมายเหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้
4. ผู้เรียนจะควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Regulated Learning)
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน 
                ครูควรจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติหรือได้สร้างสิ่งที่ผู้เรียนสนใจอยากจะทำด้วยตัวของเขาเอง โดยการมอบหมายงานให้เขาทำและให้โอกาสกับผู้เรียนในการตัดสินใจว่าเขาจะทำอะไร สิ่งนี่คือจุดเริ่มต้นที่สำคัญมากของกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางของ Constructionism เช่น เดิมจะใช้เทคนิคการสอนแบบ Step by Step คือ ครูทำให้ดูและผู้เรียนทำตามทีละ Step ไปเรื่อยๆ ซึ่งจะสังเกตว่าผู้เรียนจะเรียนรู้เฉพาะเนื้อหาที่สอนเท่านั้นและบางคนที่รู้คำสั่งเหล่านี้มาแล้วเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย แต่เมื่อนำหลักการของ Constructionismมาใช้ โดยเริ่มต้นจากการสอนด้วยวิธี Step by Step เฉพาะพื้นฐานที่ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้ จากนั้นให้ผู้เรียนเขียนโปรแกรมที่เขาสนใจขึ้นมา 1 โปรแกรมโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดเองว่าจะทำอะไรและยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามกันเองได้(โดยการบอกกับผู้เรียนก่อน)
สรุป
                 หลักการเรียนการสอนตามทฤษฎี Constructionism เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการสร้างงาน ผู้เรียนได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองโดยการลงมือปฏิบัติหรือสร้างงานที่ตนเองสนใจ ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้สัมผัสและแลกเปลี่ยนความรู้กับสมาชิกในกลุ่ม ผู้เรียนจะสร้างองค์ความรู้ขึ้นด้วยตนเองจากการปฎิบัติงานที่มีความหมายต่อตนเอง ครูผู้สอนจะต้องสร้างให้เกิดองค์ประกอบครบทั้ง 3 ประการ คือ
1)      ให้ผู้เรียนได้ลงมือประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง (ได้สร้างงาน) ตามความสนใจ ตามความชอบหรือความถนัด ของแต่ละบุคคล
2)       ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภายใต้บรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ดี
 มีเครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม


แหล่งอ้างอิงhttp://www.novabizz.com/NovaAce/Learning.htm

เยี่ยมบ้านนักเรียน

ครูและนักเรียนร่วมปฏิบัติธรรม

ครูและนักเรียนกำลังนั่งสมาธิ

                                                       อยู่ในท่าเตรียมพร้อม
                                            นักเรียนเดินชมรอบๆ บริเวณวัด
                                   ทุกคนกล่าวคำปฏิญาณตนก่อนรับประทานอาหาร
                                           พระสงฆ์นำเดินจงกรม
ครูและนักเรียนร่วมกันชมการหมักปุ๋ยชีวภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ธรรมะสอนใจ

ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

เมตตาธรรมค้ำจุนโลก
ความอดทนนำสุขมาให้
มีกัลยาณมิตรก็เหมือนมีดวงอาทิตย์ประจำตัว
คบคนเช่นใด ย่อมเป็นคนเช่นนั้น
คำสัตย์แลเป็นวาจาที่ไม่ตาย
ความหลงครอบงำผู้ใด เมื่อใด 
ความมืดมิดย่อมปรากฏเมื่อนั้น
ถึงจะเป็นใหญ่เป็นโต ก็ควรถ่อมตน
ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป
การสะสมบุญนำสุขมาให้
บุคคลบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา
ความเมตตาเป็นแบบอย่างแห่งรักแท้
การให้อภัยคือความเข้มแข็งของจิตใจ
ความอ่อนน้อมถ่อมตนคือสิริมงคลแห่งชีวิต

ปฏิบัติงานกับเพื่อนร่วมงานและชุมชน